บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

คำมูล-คำประสม-คำซ้อน-คำซ้ำ

คำมูล        คำดั้งเดิม เช่น กา เธอ วิ่ง วุ่น ไป มา คำประสม       คือการนำเอาคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปรวมเป็น 1 คำ เกิดความหมายใหม่ โดยมีเค้าความหมายเดิม คำประสมอาจทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่างๆ ได้ ดังนี้       คำนาม เช่น ดาวเรือง คนใช้ คนสวน รถไฟ รถราง หลังคา ลูกชิ้น ลูกน้ำ ปากน้ำ ดอกเบี้ย เข็มทิศ เงินเดือน ช่างปูน นักร้อง ต้นทุน ของเล่น แปรงสีฝัน ยาดับกลิ่น ท้องฟ้าจำลอง ผู้อำนวยการ       คำสรรพนาม เช่น ทูลกระหม่อม หม่อมฉัน ข้าพระพุทธเจ้า      คำกริยา เช่น กินใจ กันท่า ขัดคอ เข้าใจ ตัดบท ต่อว่า จัดการ ถ่ายรูป ถือหาง บอกบท เห็นใจ ปรับทุกข์ เรียงพิมพ์ เห็นใจ   คำซ้อน       เกิดจากการซ้อนคำ คำที่นำมาซ้อนกันมักจะมีความหมายใกล้เคียงกัน เหมือนกันหรือตรงข้ามกัน         ตัวอย่างคำซ้อนที่ความหมายเหมือนกัน เช่น จิตใจ ทรวงอก สูญหาย แบบแปลน มิตรสหาย อ้วนพี         ตัวอย่างคำซ้อนที่ความหมายคล้ายกัน เช่น วัวควาย เรือแพ ข้าวปลา หูตา ถ้วยชาม       ตัวอย่างความหมายคำซ้อนที่ตรงข้ามกัน เช่น ซื้อขาย ได้เสีย สั้นยาว ชั่วดี ถี่ห่าง คำซ้อนนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ ซ้อนเพื่อความหมายแ